วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 8
วันที่ 26 กันยายน 2559



***ไม่มีการเรรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค***


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 7
วันที่ 19 กันยายน 2559


บรรยากาศในห้อง
  วันนี้อาจารย์ให้ความรู้ ในการเรียนการสอนเรื่อง  รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี



รุปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในระดับชั้นเรียน



 ข่าวสารประจำสัปดาห์

  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย

    - รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์

    - พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
   - กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
    - เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
   - ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น
     






จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
    - ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
    - กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
    - ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
 โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
    - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
    - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
    - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”


ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
    - ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
    -  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
    - ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
    - ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
    - กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ



การสนทนา
การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น
    - เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
    - เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
    - เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน





รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา

ห้องสมุดผู้ปกครอง
  เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 


ป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
    - ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
    - ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
    - ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
    - ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
    - ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
    - กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
    - ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น


นิทรรศการ
 เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์ วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
    - นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
    - นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
    - นิทรรศการเพื่อความบันเทิง


มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
    - เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ ฯลฯ
 - เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
    - เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ
การประชุม
เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
    - เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
    - แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
    - แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
    - ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
    - สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
    - พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา ฯลฯ



จุลสาร
เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์ เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนของบรรณาธิการ  เรื่องราวของเด็กๆ บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
    - เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ  
- จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
  - ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม 
- ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
  - ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง
      

คู่มือผู้ปกครอง
เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
    - ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
  - หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
    - บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
    - อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
    - การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
    - กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
    - การวัดและประเมินผล


ระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป  (WWW.)  การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ เวิลด์ไวด์เวป  บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์ สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
    - ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา  - เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
    - สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก 
    - กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
    - กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
    - คำถามของผู้ปกครอง 







คำถามท้ายบท


1. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน ครูประจำชั้นควรพิจารณาในการเลือกใช้รูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ข่าวสารประจำสัปดาห์ เพราะ  เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
     จดหมายข่าวและกิจกรรม เพราะ เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพั ฒนาเด็ก
      ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง เพราะ เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง
       การสนทนา เพราะ ป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง 
คู่มือผู้ปกครอง เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา



  2. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษามีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ห้องสมุดผู้ปกครอง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
    ป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา เช่น ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์
 ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
     นิทรรศการ เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาริเช่น นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
 มุมผู้ปกครอง เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู
 การประชุม เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด
 ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้เพื่อการเรียนการสอนการใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษา


  3. นักศึกษามีวิธีการหรือแนวทางแก้ปัญหาผู้ปกครองที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครอง จงอธิบาย 
ตอบ ตอนแรกก็จะเข้าไปพูดคุยและอธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจอย่างชัดเจนว่ามีความจำเป็นและสำคัญอย่างไร หากไม่ได้ผลก็จะมีการแจกแผ่นพับ หรือ ส่งเมล แจ้งรายละเอียดต่างๆ
  4. การจัดกิจกรรมการให้ความรู้ผู้ปกครองมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ผู้ปกครองจะได้รับประโยชน์ย่างมาก ทั้้งได้ทำกิจกรรมต่างๆและได้เรียนรู้ถึงการเลี้ยงดูหรือการเข้าใจเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้นและได้รู้เกี่ยวการจัดการ กระบวนการศึกษาในรูปแบบต่างๆ 
   ของ โรงเรียน อีกทั้ง ผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญที่สุดของเด็กปฐมวัยอีกด้วย


5. รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะของรูปแบบอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงความคิดเห็น
ตอบ รูปแบบที่ให้ความรู้ผู้ปกครองคือต้องมีตัวอย่างให้ผู้ครองดูทุกครั้ง มีการสาธิต และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ทำให้กิจกรรมไม่ดูน่าเบื่อ และทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมมากที่สุดเพื่อที่ผู้ปกครองงได้เรียนรู้ในการลงมือปฎิบัติจริง


     การประเมิน
     ประเมินตนเอง
     มาสายนิดหน่อย ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และมีการจดบันทึกทุกครั้ง
     ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆส่วนใหญ่มาตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และฟังที่ครุอธิบาย
     ประเมินอาจารย์

     อาจารย์มีการเตรียมตัวก่อนการสอน มีสื่อในการสอน และอธิบายให้นักศึกษาได้อย่างเข้าใจ




   

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 6
วันที่ 12 กันยายน 2559



**ไม่มีการเรรียนการสอน อาจารย์ติดงานราชการ**


วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 5
วันที่ 5 กันยายน 2559



บรรยากาศในห้องเรียน
         วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศและต่างประเทศ
        ปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับทั่งโลก ต่างให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่
 ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาการให้ความรู้กับผู้ปกครองจึงเป็นภารกิจที่สถานได้ดำเนินงานในรูปแบบที่แตกต่างไปของแต่ละประเทศ




การให้คำปรึกษาผู้ปกครองในประเทศไทย

โครงการ แม่สอนลูก
- ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
  - จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้าน
  - ใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆ
  - ใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล
  - มารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึ้น
  - เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก  
 ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี
  - เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอล
  - เน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ เช่น ภาษา การพัฒนากล้ามเนื้อ และสติปัญญา
  - มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
 ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ
    - วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
    - วิธีการสนทนากลุ่ม
    - วิธีอภิปรายกลุ่ม
    - วิธีการบรรยาย 

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
   ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
    - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
    - คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    - หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
    - ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
    - จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด” เพื่อสร้างความเข้าใจบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลเอาใจใส่บุตรหลาน เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ
   - ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
    - ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
    - สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
    - กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น



โครงการหนังสือเล่มแรก (Book start Thailand)  
โครงการหนังสือเล่มแรก เริ่มต้นขึ้นในปี 2546 โดยการริเริ่มของมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ซึ่งในปีนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นปีแห่งการอ่าน  ส่วนภาคเอกชนโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ “รวมพลัง รักการอ่า” ขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกัน  โดยมีเป้าหมายที่จะให้พ่อแม่ลูกมีความสุขร่วมกันในโลกของหนังสือ สร้างพื้นฐานการอ่านและสานสัมพันธ์ในครอบครัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยนิสัยรักการอ่านและประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งองค์กรท้องถิ่นในการรณรงค์โครงการ โดยการจัดทำถุงบุ๊คสตาร์ท (book start) ติดตามประเมินผลครอบครัวในโครงการ

โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
เป็นการดำเนินงานร่วมกันของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมอนามัย สำนักงานปรัดกระทรวงสาธารณสุข และอีกหลายหน่วยงาน วัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและเพิ่มพูนความรู้ให้พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เยาวชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เจริญเติบโต มีพัฒนาการตามวัยต่อเนื่องสอดคล้องกับวิถีชีวิตครอบครัวและสังคมของเด็ก โดยมีกิจกรรมดังนี้
    - การเตรียมชุมชน แก่การให้ความรู้แก่อาสาสมัคร แล้วไปถ่ายทอดให้แก่พ่อแม่ผู้ปกครอง
    - จัดกลุ่มสนทนาให้แก่เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง สนทนาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การผลิตของเล่นสำหรับเด็ก การเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นต้น
    - จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีคามรู้และทักษะในการเลี้ยงดูเด็กเพื่อเตรียมเป็นพ่อแม่ที่ดี


โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ
โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล
   ประเทศอิสราเอลถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาค่อนข้างสูง เพราะถือว่าการศึกษาคือการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ  จึงมีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 3-4 ปี โดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ งานการศึกษาเด็กโดยพ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของอิสราเอลตั้งแต่ระดับอนุบาล

โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH
(Early Childhood Enrichment Center)
 ศูนย์ ALEH จะมีกิจกรรมช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง
  - สอนแม่ที่อายุยังน้อยให้รู้จักใช่สื่อ-อุปกรณ์ (ของเล่น) เกมการเล่นเพื่อพัฒนาเด็ก และถ้าเด็กมีปัญหาทางด้านพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาก็จะเสนอแนะให้รู้จักกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อรับฟังคำแนะนำ
  - จัดกิจกรรมสอนให้แม่ทำของเล่นให้ลูกหรือคิดสร้างเกมการเล่นกับลูก
  - ประสานงานกับคลินิกครอบครัวแม่และเด็ก จัดกิจกรรมเสนอแนะให้แม่ที่ไม่เคยมีเวลาว่างไปร่วมในศูนย์ ALEH เพื่อจัดกิจกรรมในข้อขั้นต้น  

โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
 สหรัฐอเมริกาได้ประสบปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อครอบครัว จึงได้มีการประชุมเรื่อง สุขภาพเด็กและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยได้เสนอให้มีการจัดทำหลักสูตรการให้ความรู้ผู้ปกครองไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาของทุกรัฐ 
โดยมีวัตถุประสงค์ 
    - เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย รวมทั้งลักษณะของชีวิตครอบครัว
    - ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรมของเด็ก
    - ได้อภิปรายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่มีต่อชีวิตครอบครัว
    - เพื่อให้เข้าใจลักษณะและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการศึกษาเด็กด้วยการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการศึกษา โดยกำหนดให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 2 เรื่องคือ
    1. ความพร้อมที่จะเรียน  พ่อแม่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ก่อนลูกจะเข้าเรียนและอุทิศเวลาแต่ละวันเพื่อช่วยลูกให้ได้เรียน
    2. การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้กำหนดให้โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนที่จะทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของเด็กในด้านสังคม อารมณ์ และด้านวิชาการ


โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ 
มีการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลพ่อแม่ ขึ้นในทุกรัฐ โดยการดำเนินงานนั้นให้ผ่านไปยังองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) โดยให้การอบรมความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครอง ภายใต้คำนิยาม “การศึกษาของพ่อแม่ (Parent Education) “โครงการพ่อแม่ในฐานะครู” (Parents as Teachers Program) และ “โครงการสอนเด็กเล็กในบ้าน” (Home Instruction for Preschool Youngsters Program) 

โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
เป็นโครงการระดับชาติที่ให้บริการด้านพัฒนาการแก่เด็กอายุ 3-5 ปี ที่พ่อแม่มีรายได้น้อย และบริการด้านสังคมแก่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น การบริการเฉพาะสำหรับเด็กเน้นเรื่องการศึกษา พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม สุขภาพกาย จิตใจและโภชนาการ พื้นฐานสำคัญของโครงการนี้คือ การมีส่วนร่วมของพ่อแม่และชุมชนโครงการฮมสตาร์ทมีฐานะเสมือน ห้องปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
 - สร้างครอบครัวให้เข้มแข็งในการอบรมเลี้ยงดูเด็กขั้นต้น
 - เชื่อมโยงเด็กและครอบครัวต่อการบริการชุมชนที่มีความต้อการจำเป็น
 - ประกันโครงการที่จัดการดีว่าพ่อแม่เด็กมีส่วนร่วมในการตกลงใจ

โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
เป็นการนำพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาของเด็กเล็กซึ่งอยู่ภายใต้โครงการใหญ่ คือ เฮดสตาร์ท เป้าหมายคือ เพื่อสร้างความสำนึกให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของตนที่มีต่อเด็ก และชี้ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เห็นคุณค่าของการมีส่วนร่วมของมารดาที่มีผลต่อการเรียนของเด็กด้อยโอกาส โดยช่วยเหลือสนับสนุนให้ครอบครัวมีความสามารถดูแลเด็กอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพ
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
ก่อตั้งโดยนายจิม ฮั้น ผู้ว่าการมลรัฐแคโรไลนาเหนือ ในปี พ.ศ. 2536 ได้จัดให้มีคณะทำงานศึกษาสาระปัญหาเด็กเล็ก โดยเฉพาะในด้านการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กเล็ก  ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้ดำเนินโครงการ โครงการนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากความคิดริเริ่มด้านเด็กเล็กจากแรงผลักดันของท้องถิ่น ชุมชนรวมตัวกันเข้าเรียกร้องความต้องการให้เด็กเล็ก โดยมีเป้าหมายที่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ให้มีสุขภาพและความพร้อมที่จะเรียนให้สำเร็จ

โครงการ Brooklyne Early Childhood
เป็นโครงการที่ฝึกให้ผู้ปกครองเป็นครูในการสอนลูก  ดำเนินการโดย Brooklyne Public School ซึ่งได้รับความร่วมมือจากศูนย์การแพทย์ในโรงพยาบาลเด็ก ในการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ปกครอง โดยการจัดให้มีการตรวจสุขภาพเด็กเบื้องต้นเพื่อให้สามารถรักษาดูแลความเจ็บป่วย ความพิการหรือข้อบกพร่องต่างๆ ในระยะต้นได้ นอกจากนี้ยังให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกวิธี และวิธีการจัดการศึกษาให้แก่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ด้วยการฝึกให้เด็กเล่นรวมกลุ่ม
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาปฐมวัย โดยการศึกษาในระดับนี้จะให้โอกาสผู้ปกครองใช้สิทธิในฐานะหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาปฐมวัย และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
ครูอนุบาลที่มีความสามารถจะให้โอกาสผู้ปกครองและครอบครัวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก การเรียนการสอน และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยในช่วงที่มีการเรียน  

โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
เป็นโครงการที่กล่าวได้ว่า พ่อแม่ไปมีส่วนร่วมด้วยทั้งหมด นับตั้งแต่การจัดตั้ง การบริหาร การดำเนินงาน โดยมีการควบคุมมาตรฐานที่รัฐบาลรับรองและมาสมารถจัดบริการให้แก่เด็กเล็กได้ประมาณหนึ่งในสามของเด็กปฐมวัยทั้งหมดของประเทศ ปรัชญาในการทำงานคือ
     “พ่อแม่คือครูคนแรก และเป็นครูที่ดีที่สุดของลูก”

โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำและให้ข้อมูลแก่พ่อแม่ให้มีความรู้ความเข้าเข้าใจพัฒนาการของเด็กก่อนเกิดและตั้งแต่เกิดถึง 3 ขวบ รัฐบาลส่งเสริมให้พ่อแม่ทุกคนเข้าร่วมโครงการได้ตามความสมัครใจและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น โครงการนี้จะคัดเลือกพ่อแม่ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างดีมาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เรียกว่า “พ่อแม่นักการศึกษา”  
พ่อแม่จะได้รับข้อมูลเช่น การสร้างประสบการณ์การศึกษาที่ตื่นเต้นแก่ลูกโดยไม่ต้องใช้ของเล่นราคาแพ การส่งเสริมให้ลูกรักการอ่านหนังสือ การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยและสนุก การแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และการส่งเสริมให้ลูกพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมากที่สุด 
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
มีรูปแบบในการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในลักษณะที่เรียกว่า (Early Childhood Center) หรือ ศูนย์สุขภาพเด็ก (Baby Health Center) เป็นศูนย์ที่ให้บริการคำแนะนำฟรีสำหรับพ่อแม่และทารกจนถึง 5 ปี เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะเป็นพยาบาลทั่วไป จะทำการนัดหมายให้พ่อแม่พาลูกไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ดูพัฒนาการของลูก ไปเยี่ยมบ้าน โดยเฉพาะทารกที่มีปัญหา เช่น ตัวเหลืองรวมทั้งไปสอนการดูแลการอาบน้ำเด็กทารกจนกระทั่งแม่แข็งแรงดี มีการจดบันทึกข้อมูลเด็กลงในสมุดสีฟ้า (blue book) ซึ่งเด็กทุกคนต้องมีสมุดเล่มนี้ สำคัญเหมือนบัตรประชาชน  นอกจากนี้ก็จะให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกคนแรก   
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ท หรือเรียกว่า “หนังสือเล่มแรก” ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดย นางเวนดี้ คูลลิ่ง ภายใต้ บุ๊คทรัสต์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่มีจุดมุ่งหมายในการนำหนังสือสู่คน นำคนสู่หนังสือ
นับเป็นโครงการแรกของโลกที่ว่าด้วยหนังสือสำหรับเด็กทารก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กทารกในอังกฤษทุกคนได้รับโอกาสและสนับสนุนให้พัฒนาความรู้สึกรักหนังสือและการอ่านไปตลอดชีวิต ด้วยการจัดสรรให้เด็กทารกทุกคนได้รับ “ถุงบุ๊คสตาร์ท”



โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)
เมื่อปี พ.ศ. 2543 ญี่ปุ่นประกาศให้เป็น “ปีแห่งการอ่านของเด็ก” และได้มีการนำโครงการบุ๊คสตาร์ทของประเทศอังกฤษเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์สนับสนุนบุ๊คสตาร์ทเป็นเจ้าของโครงการ ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า ภาษามีความสำคัญต่อการหล่อเลี้ยงจิตใจเด็ก เด็กเล็กต้องการอ้อมกอดอันอบอุ่นและเสียงพูดคุยอย่างอ่อนโยน  โครงการบุ๊คสตาร์ทสนับสนุนสัมผัสอันอบอุ่นโดยมี “หนังสือภาพ” เป็นสื่อกลาง โดยทดลองที่เขตสุงินามิ ในกรุงโตเกียวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ได้รับความร่วมมือจากศูนย์อนามัย ห้องสมุดและหน่วยงานสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กสามองค์กรร่วมกันแจกถุงบุ๊คสตาร์ทแก่แม่ที่พาลูกมาตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 4 เดือน โดยมีเป้าหมาย 200 ครอบครัว และก็ได้มีการแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น




คำถาท้ายบท






1. 1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร

ตอ   ตอบ การให้ความรู้ผุ้ปกครองของในและต่างประเทศมีจุดมุ่งหมายและยึดหลักการให้โความร่วมมือระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย การเลี้ยงดู คุณภาพต่างๆ


 2. นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย

     ตอบ เป็นการให้ความรุ้ผู้ปกครองตามบ้าน ตามแหล่งชุมชนต่างๆ การจัดป้ายนิทรรศการ การทำแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆให้ความรู้กับผู้ปกครอง เพื่อที่จะให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กปฐวัยที่ถูกต้อง และนำไปดูแลเลี้ยงดูได้อย่างถูกวิธี



3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคตจงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก
    5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ  
     ตอบ ความแตกต่างระหว่างบุคล 
เ       เช่น เราต้องบอกและให้ความรู้ผู้ปกครองในข้อนี้สำคัญมากๆ หาก ผู้ปกครองเห็นว่าลูกคนอื่นทำได้ แต่ทำไม ลุกตนเองทำไม่ได้และไปว่า หรือ ให้ เร่งให้เด็กทำ แต่เราควรส่งเสริมเด็ก
    ด้วยกิจกรรมต่างๆ
4. การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย
      ตอบ ส่งผล เพราะหากเราให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องที่ผิดๆ ผู้ปกครองอาจจะนำไปปฏิบัติและเลี้ยงดูลุกอย่างผิดๆก็ได้ แต่ถ้าเราให้ความรู้ในเรื่องที่ถูก ปกครองก็สามารถเข้าใจ และ เลี้ยงดูปฏิบัติต่อเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

       5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ หลังจากที่ไปให้ความรู้ผู้ปกครองแล้ว เราจะมีการตามผล โดยการจดบันทึก และการไปเยี่ยมเยียน ติดต่อสื่อสารกันทาง Line Facebook เพื่อสอบถามต่างๆ



     การประเมิน
     ประเมินตนเอง
     ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และมีการจดบันทึกทุกครั้ง
     ประเมินเพื่อน
     เพื่อนๆมากันตรงเวลา ตั้งใจเรียน และฟังที่ครุอธิบายเสมอ
     ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีการเตรียมตัวก่อนการสอน มีสื่อในการสอน และอธิบายให้นักศึกษาได้อย่างเข้าใจ